ความจริง คือ แสงสว่างสู่ทางออกของปัญหา

Thursday, December 3, 2015

[?]19 ชีวิต บริสุทธิ์ พนักงานกรุงไทย ที่ต้องถูกจำคุก ทั้งที่ไม่เกี่ยวข้องกว่า 10 ปี!!

󾕎19 ชีวิต บริสุทธิ์
พนักงานกรุงไทย
ที่ต้องถูกจำคุก
ทั้งที่ไม่เกี่ยวข้องกว่า 10 ปี!!


󾕎อ่านความจริงที่คนทั้งประเทศต้องรู้!!!

󾮜🏻󾮜🏻󾮜🏻
ในสมัยปี 2540 ประเทศไทยพบกับวิกฤติต้มยำกุ้ง ธนาคารและภาคธุรกิจขาดสภาพคล่อง จำนวนมากต้องปิดตัวลง

ธนาคารกรุงไทยซึ่งเป็นธนาคารของรัฐจึงออกโครงการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบที่เรียกว่า "อัศวินม้าขาว" (https://www.youtube.com/watch?v=hcrOxa-6HFg) เพ่ือรับช่วงต่อหนี้จากกลุ่มการเงินที่ขาดสภาพคล่องเพื่อพยุงให้ดำเนินการต่อไปได้

หนึ่งในหนี้ที่ธนาคารกรุงไทยเข้าไปช่วยเหลือคือ หนี้ของธนาคารกรุงเทพ ปล่อยกู้ให้กลุ่ม กฤษดามหานคร

กลุ่มกฤษดามหานคร เป็นกลุ่มบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤติต้มยำกุ้ง กระทั่ง ปี 2546 มีหนี้ที่กู้ธนาคารกรุงเทพสะสมอยู่ถึง 9,900 ล้านบาท

ปลายปี 2546 ธนาคารกรุงเทพประสบวิกฤติขาดเงินทุนเช่นกัน จึงคิดจะให้กลุ่มกฤษดามหานครรีไฟแนนซ์โอนถ่ายหนี้ไปให้ธนาคารกรุงไทยแทน

ฝ่ายธนาคารกรุงไทยพิจารณาแล้วว่า หลักทรัพย์ค้ำประกันเป็นที่ดินบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิที่กำลังสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ที่กลุ่มกฤษดามหานครมี มีมูลค่าเพียงพอที่จะค้ำประกันหลักทรัพย์ได้ ประกอบกับกลุ่มกฤษดามหานครไม่เคยผิดนัดชำระหนี้กับธนาคารกรุงเทพเลยนับเป็นลูกหนี้ชั้นดี ผู้บริหารธนาคารกรุงไทยจึงพิจารณาให้รีไฟแนนซ์ให้กลุ่มกฤษดามหานครโดยให้เงินกู้ 8,000 ล้านบาท

ซึ่งธนาคารกรุงเทพยอมลดหนี้ให้จำนวนหนึ่ง ทำให้กลุ่มกฤษดามหานครมีเงินเหลือพอที่จะนำไปหมุนทำธุรกิจต่อไปด้วย

ในขณะนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ตรวจสอบดูแลการทำงานของธนาคารเป็นปกติวิสัย หม่อมอุ๋ย ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยในขณะนั้นก็เข้ามาตรวจสอบการปล่อยกู้ครั้งนี้ และได้ทำรายงานการตรวจสอบไว้ โดยไม่ได้มีการตั้งข้อกล่าวหา หรือแสดงให้เห็นว่ามีความผิดปกติแต่อย่างใด การรีไฟแนนซ์ครั้งนี้ดูจะเป็นไปอย่างปรกติ แต่ทว่า...

ภายหลังการรัฐประหารปี 2549 คณะรัฐประหารได้ตั้ง องค์กร คตส.ขึ้นมา เพื่อตรวจสอบการเงินที่เกี่ยวกับ อดีตนายกฯทักษิณ และนำเอกสารการเงินของกลุ่มกฤษดามหานครมาตรวจสอบอีกครั้ง

คตส. พบว่ามีการออกเช็คจำนวน 26 ล้านบาท เพื่อขอซื้อหุ้นในธุรกิจที่สามารถโยงไปถึง พ.ต.ท.ทักษิณได้ แม้จะเป็นเงินไม่ถึง1%ของวงเงินกู้ทั้งหมด และต้องอาศัยความเชื่อมโยงหลายชั้นถึงจะโยงไปถึง พ.ต.ท.ทักษิณได้แต่ คตส. ก็เรียกคดีนี้ขึ้นมาสอบใหม่ โดยมีการตั้งข้อสงสัยเพิ่มว่า การปล่อยกู้นี้อาจอนุมัติเพราะได้รับคำสั่งมาจาก พ.ต.ท.ทักษิณ และเมื่อ คตส. หมดวาระไปก็ได้ส่งเรื่องไปให้ ป.ป.ช. 

ป.ป.ช. ได้นำสำนวนของ คตส. ไปส่งฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยมีผู้บริหารกฤษฎามหานคร6คน ประธานกรรมการของกรุงไทย5คน เจ้าหน้าที่สินเชื่อของกรุงไทย10คน และ พ.ต.ท.ทักษิณตกเป็นจำเลย

แต่ต่อมา กรรมการ 2 ใน 5 คน ได้พ้นจากสภาพจำเลย เพราะได้ให้การว่ามี "บิ๊กบอส" เป็นผู้สั่งการให้มีการปล่อยกู้ และปัจจุบันกรรมการ 2 คนที่ให้การปรักปรำนั้น ก็ได้มาเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลทหารของ คสช.

ในขณะที่ผู้บริหารอื่นๆของกรุงไทย ยืนยันว่าเป็นการปล่อยกู้โดยสุจริต เพราะหลักทรัพย์ที่นำมาคำประกันนั้นมีมูลค่าสูงพอจะรับประกันหนี้ และในปัจจุบัน หนี้ของกลุ่มกฤษดานครก็ไม่ได้ก่อความเสียหายใดๆ ต่อธนาคารกรุงไทย..

No comments:

Post a Comment