ความจริง คือ แสงสว่างสู่ทางออกของปัญหา

Monday, December 31, 2012

ปตท. ปล้นชาติ และหลักการต่อสู้เพื่อชิงอำนาจของประชาชน


Video streaming by Ustream

Tuesday, December 25, 2012

รัฐธรรมนูญคณะปฎิวัติประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 2556 (ฉบับสมมุติ)



ผมนั่งสมมุติว่า หากมีประเทศ ๆ หนึ่ง มีกษัตริย์เป็นประมุข แล้วเกิดการปฎิวัติล้มล้างการปกครองแบบเผด็จการราชาธิปไตย ประชาชนคิดการสำเร็จแล้ว แต่กำลังหาคนช่วยร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว แล้วก็มาขอให้ผมช่วยร่าง ผมจะทำยังไงดี? อิ ๆ พอเหลียวไปเหลียวมา ไปเจอรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) 2549 ที่ คมช. หรือ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ได้ให้นิติกรบริการร่างไว้อย่างดี จึงลองเอามาปรับแต่งเล่น ๆ เผื่อประชาชนประเทศตอแหลแลนด์ (สมมุติ) จะได้อำนาจมาแล้วสานต่อได้เลย ต้องขอบคุณ นักกฎหมายเก่ง ๆ ของไทยนะครับ ที่อำนวยความสะดวก (อิ ๆ)

ลองอ่านเล่น ๆ นะครับ

------------------------------------

รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2556

คณะปฎิวัติประชาชนชาวตอแหลแลนด์เพื่อเสรีประชาธิปไตย
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖
เป็นปีที่ ๑ ในยุคชาววิไล

สภาปฎิวัติประชาชนชาวตอแหลแลนด์ให้ประกาศว่า

โดยที่หัวหน้าคณะปฎิวัติล้มล้างระบบเผด็จการราชาธิปไตยอันมีหัวหน้าคณะปฎิวัติฯเป็นประมุข ในชื่อ คณะปฎิวัติประชาชนชาวตอแหลแลนด์เพื่อเสรีประชาธิปไตย ซึ่งได้กระทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินเป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายนพุทธศักราช ๒๕๕๖ได้มีมติร่วมกับตัวแทนประชาชนทุกหมู่เหล่าว่า เหตุที่ทำการยึดอำนาจและประกาศให้ยกเลิก

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรตอแหลแลนด์เสียนั้น ก็โดยปรารถนาจะแก้ไขความเสื่อมศรัทธาในระบอบการปกครองเดิม ที่ความไร้ประสิทธิภาพในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่ถูกครอบงำโดยมือที่มองไม่เห็น หรืออำนาจเหี้ย ๆ ของกษัตริย์และสมุนทั้งหลาย ทำให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบขึ้นอย่างกว้างขวาง โดยไม่อาจหาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ เพราะกลไกต่าง ๆ ได้ถูกยึดไปเป็นของพรรคและเครือข่ายกษัตริย์เสียทั้งสิ้น จะเดินหน้าด้วยวิถีประชาธิปไตยแบบสันติวิธี ก็เป็นอันถูกขัดขวาง จนทำให้บ้านเมืองอึมครึม เสียหาย และนับวันแต่จะทวีความร้อนร้ายขึ้นทุกที ถือเป็นเป็นวิกฤติการณ์ร้ายแรงทางการเมืองการปกครองเพียงเพราะพวกอภิสิทธิชนหัวโบราณภายใต้ระบอบการปกครอแบบราชาธิปไตย และปัญหาความขัดแย้งในมวลหมู่ประชาชนที่ถูกปลุกปั่นให้แบ่งแยกเป็นฝักเป็นฝ่ายจนเสื่อมสลายความรู้รักสามัคคีของชนโดยกษัตริย์ไม่มีความเป็นกลาง ไม่มีทศพิธราชธรรม ใช้เครือข่ายหลอกลวง เป่าหัว และนำไปสู่การฆ่าฟันกันของประชาชน เพียงเพื่อหวังให้ตนเองและครอบครัวอยู่ต่อไปตลอดกาล โดยไม่สนใจว่า ประชาชนและประเทศชาติจะเสียหายปานใด ทำลายความสมดุลย์แห่งอำนาจอธิปไตยของประชาชน ก้าวล่วงจนระบบปกติไม่สามารถทำงานได้ แถมยังใช้ทหารและองค์กรอิสระ พร้อมกับพรรคการเมืองแห่งราชวงศ์ตอแหลปั่นป่วนบ้านเมือง พร้อมกับยุยงให้ประชาชนหลงผิด คิดจงรักภักดีกับตนอย่างไม่ละอาย และยุให้ประชาชนผู้หลงอย่างมืดบอดออกมาทำร้ายประชาชนและตัวแทนของประชาชนอย่างบ้าคลั่ง แม้หลายภาคส่วนที่มาจากประชาชนจริง ๆ ตามระบอบประชาธิปไตย จะได้ใช้ความพยายามแก้ไขวิกฤติการณ์ดังกล่าวแล้วแต่ก็ไม่เป็นผล กลับมีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นจนถึงขั้นใช้กำลังเข้าปะทะกัน
ซึ่งอาจมีการสูญเสียชีวิตและเลือดเนื้อได้ นับว่าเป็นภยันตรายใหญ่หลวงต่อระบอบการปกครอง ระบบ
เศรษฐกิจ และความสงบเรียบร้อยของประเทศ จำเป็นต้องกำหนดกลไกทางปกครองที่เหมาะสมแก่
สถานการณ์เพื่อใช้ไปพลางก่อน โดยคำนึงถึงหลักประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ และไม่มีหัวหน้าคณะปฎิวัติฯเป็นประมุขหรือมาเกี่ยวข้องกับการปกครองอีกต่อไป

คณะปฎิวัติฯ จะให้คำมั่นในการการฟื้นฟูความรู้รักสามัคคี ดูแลระบบเศรษฐกิจและความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง เสริมสร้างระบบการตรวจสอบทุจริตที่เข้มแข็งและระบบจริยธรรมที่ดีงาม ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติ พันธกรณีตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ การส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ การดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจทุนนิยมเสรีที่เอาประชาชนเป็นศูนย์กลาง ขณะเดียวกันก็เร่งดำเนินการให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ด้วยการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางจากประชาชนในทุกขั้นตอน โดยตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง และเมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ผ่านขั้นตอนการร่างและลงประชามติตามกรอบที่คณะปฎิวัติกำหนดแล้ว จะมอบอำนาจโดยเบ็ดเสร็จให้กับรัฐบาลและรัฐสภาของประชาชนต่อไป
จึงขอประกาศให้ใช้บทบัญญัติต่อไปนี้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) จนกว่าจะได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรของประชาชน ภายใต้ระบอบการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยต่อไป

มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้

มาตรา ๒ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ผุ้ใช้อำนาจนี้ จะต้องเป็นตัวแทนของประชาชนที่ผ่านการเลือกตั้งทางตรงหรือทางอ้อมเท่านั้น

มาตรา ๓ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามหลักสากลที่ประเทศไทยเคยมีพันธกรณีมาก่อนและตามที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้

มาตรา ๔ ยกเลิกทุกมาตราที่เกี่ยวเนื่องด้วยอำนาจกษัตริย์และองคมนตรีทุกมาตรา และให้กษัตริย์ดำรงตำแหน่งประมุขทางสัญลักษณ์ ไม่มีอำนาจใด ๆ และไม่สามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินใด ๆ ทั้งสิ้น ให้ทรัพย์สินทั้งหมดเป็นของแผ่นดิน คือของประชาชนทุกคน แต่ให้รัฐสภากำหนดเงินเดือนแก่กษัตริย์และราชวงศ์ตามสมควร โดยรัฐสภาจะต้องควบคุมและอนุมัติก่อนในทุกรายละเอียด
มาตรา ๕ ให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่แต่งตั้งโดยคณะปฎิวัติ ทำหน้าที่รักษาการจนกว่าจะมีรัฐธรรมนูญฉบับถาวร และมีการเลือกตั้งตัวแทนด้านบริหารและนิติบัญญัติภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรแล้ว และให้ประธานสภานิติบัตติแห่งชาติทำหน้าที่ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ โดยมีหัวหน้าคณะปฎิวัติฯ หรือตัวแทน ทำหน้าที่ประธานาธิบดี ในฐานะประมุขฝ่ายบริหาร ส่วนประมุขฝ่ายตุลาการนั้น ให้ประธานตุลาการแห่งชาติ ดำรงตำแหน่งในลักษณะเดียวกัน

สมาชิกภาพของสมาชิกสภานิติบัญญัติและผู้ปฎิบัติงานด้านบริหารและตุลาการแห่งชาติสิ้นสุดลง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ถูกปลดโดยหัวหน้าคณะปฎิวัติฯ
(๔) ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
(๕) สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพ

มาตรา ๗ หัวหน้าคณะปฎิวัติแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นประธานสภา
คนหนึ่ง และเป็นรองประธานสภาคนหนึ่งหรือหลายคนตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
การพ้นจากตำแหน่งของประธานสภา และรองประธาน ให้เป็นไปตามคำสั่งของคณะปฎิวัติฯ

มาตรา ๘ ในกรณีที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้ใดกระทำการอันเป็นการเสื่อมเสีย
เกียรติศักดิ์ของการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือมีพฤติการณ์อันเป็นการขัดขวางต่อการปฏิบัติ
หน้าที่ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบคน
มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อให้ผู้นั้นพ้นจากสมาชิกภาพ
มติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้สมาชิกพ้นจากสมาชิกภาพตามวรรคหนึ่ง ต้องมีคะแนนเสียง
ไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในวันลงคะแนน

มาตรา ๙ การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีอำนาจตราข้อบังคับเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของ
ประธานสภา รองประธานสภาและกรรมาธิการ วิธีการประชุม การเสนอและพิจารณาร่างประชาบัญญัติ
การเสนอญัตติ การอภิปราย การลงมติ การตั้งกระทู้ถาม การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย และ
กิจการอื่นเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่

มาตรา ๑๐ หัวหน้าคณะปฎิวัติตรากฎหมายประชาบัญญัติ ที่มีฐานะแทนประชาบัญญัติในการปกครองแบบเดิม โดยคำแนะนำและยินยอมของ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ภายใต้บังคับมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง ร่างกฎหมายประชาบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติร่วมกันจำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคน หรือคณะรัฐมนตรี แต่ร่างประชาบัญญัติเกี่ยวด้วย
การเงิน จะเสนอได้ก็แต่โดยคณะรัฐมนตรี
ร่างประชาบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินตามวรรคสอง หมายความถึงร่างประชาบัญญัติว่าด้วย
ข้อความดังต่อไปนี้ทั้งหมดหรือแต่อย่างหนึ่งอย่างใด กล่าวคือ การตั้งขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง
แก้ไข ผ่อน หรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีหรืออากร การจัดสรร รับ รักษา จ่าย โอน
หรือก่อภาระผูกพันเงินแผ่นดิน การลดรายได้แผ่นดิน การกู้เงิน การค้ำประกัน หรือการใช้เงินกู้ หรือ
ร่างประชาบัญญัติว่าด้วยเงินตรา
ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าร่างประชาบัญญัติซึ่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้เสนอจะเป็น
ร่างประชาบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินหรือไม่ ให้เป็นอำนาจของประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่จะ
วินิจฉัย

มาตรา ๑๑ ในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี
ในเรื่องใดอันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้ แต่รัฐมนตรีย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อเห็นว่าเรื่องนั้นยังไม่ควร
เปิดเผยเพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน หรือเมื่อเห็นว่าเป็นกระทู้
ที่ต้องห้ามตามข้อบังคับ
ในกรณีมีปัญหาสำคัญ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคนจะเข้าชื่อ
เสนอญัตติขอเปิดอภิปรายเพื่อซักถามข้อเท็จจริงจากคณะรัฐมนตรีก็ได้ แต่จะลงมติไว้วางใจหรือ
ไม่ไว้วางใจไม่ได้

มาตรา ๑๒ ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารภารกิจแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรี
เห็นสมควรจะรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานาธิบดีจะแจ้งไปยัง
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้

มาตรา ๑๓ ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้ใดจะกล่าวถ้อยคำใด ๆ ในทางแถลง
ข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็น หรือออกเสียงลงคะแนน ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด จะนำไป
เป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวผู้นั้นในทางใดมิได้
เอกสิทธิ์ที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ให้คุ้มครองถึงกรรมาธิการของสภา ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณารายงาน
การประชุมโดยคำสั่งของสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือคณะกรรมาธิการ บุคคลซึ่งประธานในที่ประชุม
อนุญาตให้แถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตลอดจน
ผู้ดำเนินการถ่ายทอดการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ที่ได้รับ
อนุญาตจากประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย แต่ไม่คุ้มครองสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้กล่าว
ถ้อยคำในการประชุมที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ หากถ้อยคำที่กล่าว
ในที่ประชุมไปปรากฏนอกบริเวณสภานิติบัญญัติแห่งชาติและการกล่าวถ้อยคำนั้นมีลักษณะเป็น
ความผิดอาญาหรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติ
ในกรณีที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติถูกควบคุมหรือขัง ให้สั่งปล่อยในเมื่อประธาน
สภานิติบัญญัติแห่งชาติร้องขอ หรือในกรณีถูกฟ้องในคดีอาญา ให้ศาลพิจารณาคดีต่อไปได้ เว้นแต่
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติร้องขอให้งดการพิจารณาคดี

มาตรา ๑๔ หัวหน้าคณะปฎิวัติแต่งตั้งประธานาธิบดีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอื่นอีกจำนวน
ไม่เกินสามสิบห้าคนตามที่ประธานาธิบดีให้คำแนะนำ ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหาร
ภารกิจแผ่นดิน
หัวหน้าคณะปฎิวัติ มีอำนาจในการให้ประธานาธิบดีพ้นจากตำแหน่งตามที่
คณะปฎิวัติให้คำแนะนำ และให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งตามที่
ประธานาธิบดีให้คำแนะนำ
การแต่งตั้งประธานาธิบดีและการให้ประธานาธิบดีพ้นจากตำแหน่ง ให้หัวหน้าคณะปฎิวัติฯ
แห่งชาติเป็นผู้ลงนาม
ประธานาธิบดีและรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาร่าง
รัฐธรรมนูญ หรือกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในขณะเดียวกันมิได้
ประธานาธิบดีและรัฐมนตรีมีสิทธิเข้าร่วมประชุมชี้แจงแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมสภา
นิติบัญญัติแห่งชาติ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน

มาตรา ๑๕ ในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาแห่งอาณาจักร ความปลอดภัย
ของประเทศ ทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือเมื่อมีความจำเป็น
ต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราที่ต้องพิจารณาโดยด่วนและลับ หัวหน้าคณะปฎิวัติฯไว้ซึ่ง
ประชาอำนาจในการตราประชากำหนดให้ใช้บังคับดังเช่นประชาบัญญัติ
เมื่อได้ประกาศใช้ประชากำหนดแล้ว ให้คณะรัฐมนตรีเสนอประชากำหนดต่อสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติโดยไม่ชักช้า ถ้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติอนุมัติแล้ว ให้ประชากำหนดนั้นมีผลใช้บังคับ
เป็นประชาบัญญัติต่อไป ถ้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่อนุมัติ ให้ประชากำหนดนั้นตกไป แต่ทั้งนี้
ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้ประชากำหนดนั้น เว้นแต่ประชากำหนดนั้น
มีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด ให้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีอยู่ก่อน
การแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกมีผลใช้บังคับต่อไปตั้งแต่วันที่การไม่อนุมัติประชากำหนดนั้นมีผลบังคับ
การอนุมัติหรือไม่อนุมัติประชากำหนดให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีไม่อนุมัติให้มีผล
ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๑๖ หัวหน้าคณะปฎิวัติฯมีอำนาจในการตราประชากฤษฎีกาโดยไม่ขัดต่อ
กฎหมาย
มาตรา ๑๗ บรรดาบทกฎหมาย หัวหน้าคณะปฎิวัติฯ มีอำนาจสูงสุดในการอนุมัติหรือไม่ยอมรับตามมติเอกฉันท์ของคณะปฎิวัติฯ เว้นแต่
รัฐธรรมนูญนี้จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา ๑๘ ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีโดยมีการรับรองด้วยลายมือของหัวหน้าคณะปฎิวัติฯ ให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรมตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้

มาตรา ๑๙ ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยสมาชิกซึ่งให้แต่งตั้งตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้มีจำนวนหนึ่งร้อยคน
หัวหน้าคณะปฎิวัติฯ แต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนหนึ่ง
และรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญอีกไม่เกินสองคน ตามมติของสภาร่างรัฐธรรมนูญ
หัวหน้าคณะปฎิวัติฯแห่งชาติเป็นผู้ลงนามแต่งตั้ง
ประธานสภาและรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมือง หรือดำรงตำแหน่งใด
ในพรรคการเมืองภายในเวลาสองปีก่อนวันได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
และต้องไม่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในขณะเดียวกัน
ให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กรรมาธิการของสภา ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณารายงานการประชุม
โดยคำสั่งของสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือคณะกรรมาธิการ บุคคลซึ่งประธานในที่ประชุมอนุญาตให้
แถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ และผู้ดำเนินการถ่ายทอด
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ที่ได้รับอนุญาตจากประธาน
สภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓ เช่นเดียวกับสมาชิก
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ให้นำมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับแก่องค์ประชุมของสภาร่างรัฐธรรมนูญและให้นำ
ข้อบังคับของสภานิติบัญญัติแห่งชาติมาใช้บังคับแก่การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญด้วยโดยอนุโลม

มาตรา ๒๐ ให้มีสมัชชาแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งให้แต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด อายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี มีจำนวนไม่เกินสองพันคน
ให้หัวหน้าคณะปฎิวัติฯแต่งตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติตามวรรคหนึ่ง
ให้นำความในมาตรา ๕ วรรคสามและวรรคสี่ มาใช้บังคับแก่การสรรหาบุคคลและการได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติด้วยโดยอนุโลม

มาตรา ๒๑ ในการประชุมสมัชชาแห่งชาติ ให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่
ประธานสมัชชาแห่งชาติ และรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รองประธานสมัชชา
แห่งชาติ
การประชุมสมัชชาแห่งชาติและวิธีการคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามที่
ผู้ทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติกำหนด

มาตรา ๒๒ ให้สมัชชาแห่งชาติมีหน้าที่คัดเลือกสมาชิกด้วยกันเองเพื่อจัดทำบัญชีรายชื่อ
ผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมีจำนวนสองร้อยคน
ให้แล้วเสร็จภายในเจ็ดวันนับแต่วันเปิดประชุมสมัชชาแห่งชาติครั้งแรก และเมื่อได้คัดเลือกสมาชิก
สภาร่างรัฐธรรมนูญแล้ว หรือเมื่อครบกำหนดเวลาแล้วยังไม่อาจคัดเลือกได้ครบถ้วน ให้สมัชชาแห่งชาติ
เป็นอันสิ้นสุดลง

การคัดเลือกตามวรรคหนึ่ง ให้สมาชิกสมัชชาแห่งชาติมีสิทธิเลือกได้คนละไม่เกินสามรายชื่อ
และให้ผู้ได้คะแนนเสียงสูงสุดเรียงลงไปตามลำดับจนครบสองร้อยคนเป็นผู้ได้รับเลือก ในกรณีที่
มีคะแนนเสียงเท่ากันในลำดับใดอันจะทำให้มีผู้ได้รับเลือกเกินสองร้อยคน ให้ใช้วิธีจับสลาก
มาตรา ๒๓ เมื่อได้รับบัญชีรายชื่อที่ได้รับการคัดเลือกจากสมัชชาแห่งชาติแล้ว ให้คณะมนตรี
แห่งชาติคัดเลือกบุคคลตามบัญชีรายชื่อดังกล่าวให้เหลือหนึ่งร้อยคน และนำความ
กราบบังคมทูลเพื่อแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ในกรณีที่สมัชชาแห่งชาติปฏิบัติหน้าที่ไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๒๒
วรรคหนึ่ง ให้คณะปฎิวัติเลือกสมาชิกสมัชชาแห่งชาติจำนวนหนึ่งร้อยคน
เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อเสนอแต่งตั้งต่อไป
ให้หัวหน้าคณะปฎิวัติฯแห่งชาติเป็นผู้ลงนามแต่งตั้ง
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ให้นำความในมาตรา ๕ วรรคสี่ มาใช้บังคับแก่การได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
และกรรมาธิการตามมาตรา ๒๕ ด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๒๔ ในระหว่างที่สภาร่างรัฐธรรมนูญยังปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญนี้ไม่แล้วเสร็จ
หากมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้หัวหน้าคณะปฎิวัติฯ
คัดเลือกบุคคลจากบัญชีรายชื่อตามมาตรา ๒๒ ที่เหลืออยู่ หรือจากบุคคลที่เคยเป็นสมาชิก
สมัชชาแห่งชาติ แล้วแต่กรณี เพื่อเสนอแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีตำแหน่งว่าง
ในระหว่างที่ยังมิได้แต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญ
ประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่เหลืออยู่

มาตรา ๒๕ ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ
ยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้คุณวุฒิซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ที่ได้รับการคัดเลือกตามมติของสภาจำนวนยี่สิบห้าคน และผู้คุณวุฒิซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิก
สภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวนสิบคนตามคำแนะนำของหัวหน้าคณะปฎิวัติฯแห่งชาติ ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประชากฤษฎีกา

มาตรา ๒๖ เมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้จัดทำ
คำชี้แจงว่าร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นใหม่นั้น มีความแตกต่างกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๔๐ ในเรื่องใดพร้อมด้วยเหตุผลในการแก้ไขไปยังสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ องค์กร
และบุคคลดังต่อไปนี้ (ซึ่งให้ปลดผู้อยู่ในตำแหน่งก่อนหน้านี้ให้หมด แล้วให้หัวหน้าคณะปฎิวัติฯ แต่งตั้งใหม่) เพื่อพิจารณาและเสนอความคิดเห็น
(๑) คณะปฎิวัติ
(๒) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(๓) คณะรัฐมนตรี
(๔) ศาลฎีกา
(๕) ศาลปกครองสูงสุด
(๖) คณะกรรมการการเลือกตั้ง
(๗) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(๘) ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
(๙) ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
(๑๐) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
(๑๑) สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(๑๒) สถาบันอุดมศึกษา

ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญและเอกสารชี้แจงตามวรรคหนึ่ง
ให้ประชาชนทั่วไปทราบ ตลอดจนส่งเสริมและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนประกอบด้วย

มาตรา ๒๗ เมื่อสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้รับร่างรัฐธรรมนูญและเอกสารตามมาตรา ๒๖ แล้ว
หากประสงค์จะแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติม ให้กระทำได้เมื่อมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญลงชื่อรับรอง
ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มีอยู่และต้องยื่นคำขอแปรญัตติพร้อมทั้ง
เหตุผลก่อนวันนัดประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๒๘
สมาชิกที่ยื่นคำขอแปรญัตติหรือที่ให้คำรับรองคำแปรญัตติของสมาชิกอื่นแล้ว จะยื่นคำขอ
แปรญัตติหรือรับรองคำแปรญัตติของสมาชิกอื่นใดอีกไม่ได้

มาตรา ๒๘ เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ส่งเอกสารตามมาตรา ๒๖ ให้คณะกรรมาธิการ
ยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาความเห็นที่ได้รับมาตามมาตรา ๒๖ และคำแปรญัตติตามมาตรา ๒๗
พร้อมทั้งจัดทำรายงานการแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่แก้ไขเพิ่มเติมพร้อมทั้งเหตุผล เผยแพร่ให้ทราบ
เป็นการทั่วไป แล้วนำเสนอร่างรัฐธรรมนูญต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณา
การพิจารณาของสภาร่างรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่งเป็นการพิจารณาเพื่อให้ความเห็นชอบ
หรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับและเฉพาะมาตราที่สมาชิกยื่นคำขอแปรญัตติตามมาตรา ๒๗
หรือที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเสนอ โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจะแปรญัตติแก้ไข
เพิ่มเติมนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๗ มิได้ เว้นแต่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะเห็นชอบ
ด้วยหรือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมีจำนวนไม่น้อยกว่าสามในห้าเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น

มาตรา ๒๙ ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญและพิจารณาให้แล้วเสร็จตาม
มาตรา ๒๘ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันเปิดประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรก
เมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบและจัดให้มีการออกเสียง
ประชามติว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ซึ่งต้องจัดทำไม่เร็วกว่าสิบห้าวัน
และไม่ช้ากว่าสามสิบวันนับแต่วันที่เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ
ที่สภาร่างรัฐธรรมนูญประกาศกำหนด
การออกเสียงประชามติต้องกระทำภายในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร

มาตรา ๓๐ เมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จตามมาตรา ๒๙ วรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมาธิการ
ยกร่างรัฐธรรมนูญดำเนินการยกร่างประชาบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์
ในการจัดให้มีการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ
เพื่อเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติดำเนินการต่อไปซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จ
ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับร่างจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
เพื่อประโยชน์แห่งการขจัดส่วนได้เสีย ห้ามมิให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญลงสมัคร
รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาภายในสองปีนับแต่วันที่พ้นจาก
ตำแหน่งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

มาตรา ๓๑ ในการออกเสียงประชามติ ถ้าประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของ
ผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบให้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับแล้ว ให้ประธานสภานิติบัญญัติ
แห่งชาตินำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และเมื่อลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษาและใช้บังคับได้

เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญและสภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างประชาบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญตามมาตรา ๓๐ เสร็จแล้ว หรือเมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามมาตรา ๓๐ สุดแต่เวลาใด
จะถึงก่อน ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันสิ้นสุดลง

มาตรา ๓๒ ในกรณีที่สภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายใน
กำหนดเวลาตามมาตรา ๒๙ วรรคหนึ่ง ก็ดี สภาร่างรัฐธรรมนูญไม่ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ
ตามมาตรา ๒๘ วรรคสอง ก็ดี หรือในการออกเสียงประชามติตามมาตรา ๓๑ ประชาชนโดยเสียงข้างมาก
ของผู้มาออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบให้ใช้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็ดี ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญ
สิ้นสุดลง และให้คณะปฎิวัติประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณารัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทยที่ได้เคยประกาศใช้บังคับมาแล้วฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน
สามสิบวันนับแต่วันออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบ และนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อลง
พระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญต่อไป
ในการประชุมร่วมกันตามวรรคหนึ่ง ให้หัวหน้าคณะปฎิวัติฯแห่งชาติทำหน้าที่
ประธานในที่ประชุม
การประกาศใช้รัฐธรรมนูญตามมาตรานี้ ให้ประธานาธิบดีเป็นผู้ลงนาม

มาตรา ๓๓ เงินประจำ ตำ แหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานสภาและ
รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสภาร่างรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในคณะมนตรี
แห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
และผู้ดำรงตำแหน่งในคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในประชากฤษฎีกา

มาตรา ๓๔ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยและแห่งชาติ ให้มี
คณะปฎิวัติ ประกอบด้วยบุคคลตามประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตย อันมีหัวหน้าคณะปฎิวัติฯเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๔ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พุทธศักราช
๒๕๕๖
หัวหน้าคณะปฎิวัติฯแห่งชาติอาจแต่งตั้งสมาชิกคณะปฎิวัติ
เพิ่มขึ้นได้อีกไม่เกินสิบห้าคน
ให้หัวหน้า รองหัวหน้า สมาชิก เลขาธิการและผู้ช่วยเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตย อันมีหัวหน้าคณะปฎิวัติฯเป็นประมุข เป็นประธาน รองประธาน สมาชิก
เลขาธิการและผู้ช่วยเลขาธิการคณะปฎิวัติ ตามลำดับ
ในกรณีที่หัวหน้าคณะปฎิวัติฯแห่งชาติไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธาน
คณะปฎิวัติตามลำดับที่หัวหน้าคณะปฎิวัติฯแห่งชาติกำหนดทำหน้าที่
หัวหน้าคณะปฎิวัติฯแห่งชาติ และในกรณีที่หัวหน้าคณะปฎิวัติฯแห่งชาติและ
รองหัวหน้าคณะปฎิวัติฯแห่งชาติไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้สมาชิกคณะมนตรี
แห่งชาติเลือกสมาชิกคณะปฎิวัติคนหนึ่งทำหน้าที่หัวหน้าคณะปฎิวัติฯ
แห่งชาติ
ในกรณีที่เห็นสมควร หัวหน้าคณะปฎิวัติฯแห่งชาติหรือประธานาธิบดีอาจขอให้มี
การประชุมร่วมกันของคณะปฎิวัติและคณะรัฐมนตรี เพื่อร่วมพิจารณาและแก้ไข
ปัญหาใด ๆ อันเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและแห่งชาติ รวมตลอดทั้งการปรึกษา
หารือเป็นครั้งคราวในเรื่องอื่นใดก็ได้

มาตรา ๓๕ บรรดาการใดที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญหรือเมื่อมี
ปัญหาว่ากฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ให้เป็นอำนาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญซึ่งประกอบด้วย
ประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นรองประธาน ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรง
ตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ
จำนวนห้าคนเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ และตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่
ศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับจำนวนสองคน เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ
ให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญตามกฎหมายว่าด้วยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ธุรการ
และการอื่นใดตามที่ประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมอบหมาย
องค์คณะในการพิจารณาพิพากษา วิธีพิจารณา และการทำคำวินิจฉัย ให้เป็นไปตามที่คณะตุลาการ
รัฐธรรมนูญกำหนดโดยประกาศในประชากิจจานุเบกษา
บรรดาอรรถคดีหรือการใดที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญก่อนวันที่
๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๖ ให้โอนมาอยู่ในอำนาจและความรับผิดชอบของคณะตุลาการ
รัฐธรรมนูญ

มาตรา ๓๖ บรรดาประกาศและคำสั่งของคณะปฎิวัติฯ หรือคำสั่งของหัวหน้าคณะปฎิวัติฯ ที่ได้ประกาศหรือสั่งในระหว่างวันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๖ จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปใดและไม่ว่าจะประกาศหรือ
สั่งให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปและ
ให้ถือว่าประกาศหรือคำสั่ง ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้นไม่ว่าการปฏิบัติตามประกาศ
หรือคำสั่งนั้นจะกระทำก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นประกาศหรือคำสั่งหรือการปฏิบัติ
ที่ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

มาตรา ๓๗ บรรดาการกระทำทั้งหลายซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจ
การปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๖ ของหัวหน้าและคณะปฎิวัติ รวมตลอดทั้งการกระทำของ
บุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะปฎิวัติ หรือของผู้ซึ่งได้รับคำสั่ง
จากผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันได้กระทำไป เพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น การกระทำดังกล่าวมา
ทั้งหมดนี้ ไม่ว่าเป็นการกระทำเพื่อให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ
รวมทั้งการลงโทษและการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการ
ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลัง
วันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมายก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง

มาตรา ๓๘ ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้น
ไปตามวินิจฉัยและคำสั่งของคณะปฎิวัติฯ โดยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์
ในกรณีมีปัญหาเกี่ยวแก่การวินิจฉัยกรณีใดตามความในวรรคหนึ่งเกิดขึ้นในวงงานของ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือเมื่อมีกรณีที่คณะรัฐมนตรีขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติวินิจฉัย
ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติวินิจฉัยชี้ขาด

มาตรา ๓๙ ก่อนคณะรัฐมนตรีเข้ารับหน้าที่ ให้หัวหน้าคณะปฎิวัติฯ
ปฏิบัติหน้าที่ประธานาธิบดีและคณะรัฐมนตรี


ผู้ลงนาม
xxxxxxxxxxxx

หัวหน้าคณะปฎิวัติฯ



-->
-->