ความจริง คือ แสงสว่างสู่ทางออกของปัญหา

Saturday, May 21, 2016

NGO - นายหน้าค้าความเมตตาจอมปลอมของ ทรราช คสช.

NGO - นายหน้าค้าความเมตตาจอมปลอมของ ทรราช คสช.

---------------------------------------------------------------------------------

"ผมเรียกร้องให้ท่านเอ็นจีโอกลับมา หรือวันนี้บางท่านพร้อมเป็นนายหน้าค้าความเมตตาจอมปลอมของรัฐ" 

-
เดชรัต สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวในงานเสวนาวิชาการ "รัฐธรรมนูญกับประชามติที่เลือกได้" ที่ห้องประชุมริมน้ำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กล่าวว่า เผด็จการเชิงเครือข่ายในร่างรัฐธรรมนูญนี้มาชุดใหญ่ มาทุกจุด มาแบบ "ผ้าป่าสามัคคี" และจะอธิบายว่าทำไมเป็นอย่างนั้น เดชรัตกล่าวว่า เขาอยากพูดกับภาคประชาสังคมและองค์กรพัฒนาเอกชน หรือ เอ็นจีโอ ระหว่างที่เราคุยกันเรื่องนี้เขาก็มีการจัดกระบวนการประชาสัมพันธ์ร่างรัฐธรรมนูญและประชารัฐ โดยเอาภาคประชาสังคมเป็นแกนหลัก เช่น ครู ก. รวมถึงเอ็นจีโอเพื่อช่วยอธิบายข้อดีรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพูดคุยกับเอ็นจีโอ เพราะผมไปแอบส่องเฟซบุ๊กใครหลายคนเหมือนแต่งตั้งผมให้เป็น "นักวิชาการสายเอ็นจีโอ" 

-
ประเด็นแรก สิทธิเสรีภาพประชาชนหายไป น้องเพนกวินได้หยิบยกเรื่องสิทธิการเรียนฟรีที่หายไป สิ่งที่ผมอยากพูดคือ มันไม่ได้หายแค่สิทธิการได้เรียนฟรี เพราะรัฐธรรมนูญปี 2540, 2550 บอกว่าประชาชนมีสิทธิในการจัดการศึกษาด้วย เพราะการศึกษาเป็นเรื่องของสังคม ร่างมีชัยเขียนถึงบทบาทภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเอกชน เมื่อทวงถามว่า ประชาชนหายไปไหน เขาก็บอกว่า ประชาชนคือเอกชน นอกจากนี้ยังเกิดเรื่องตลกขึ้นหลังเพนกวินจัดแคมเปญ ทั้งนายกฯและ รมว.ศึกษาธิการบอกว่าให้รับร่างรัฐธรรมนูญไปเถอะ รับไปแล้วรัฐบาลก็จะจัดการศึกษาฟรีให้ 15 ปีเหมือนเดิม 

-
นี่เขากำลังเล่นอะไร รับไปก่อนเดี๋ยวผมแถมให้ สิ่งเหล่านี้เรียกว่าอะไร กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไทก็สอบถามผม เรื่องนี้ผมขออนุญาตอ่านงานของเปาโล เฟรเร เรื่องการศึกษาของผู้ถูกกดขี่ ที่ว่า "เพื่อที่จะรักษาโอกาสในการแสดงความเมมตตาปราณีของผู้กดขี่ พวกเขาจำเปนต้องคงไว้ซึ่งโครงสร้างอันอยุติธรรม......" นี่คือความเมตตาปราณีที่รัฐบาลจะหยิบยื่นให้ และเป็นสาเหตุว่าทำไมผู้แจกจ่ายควาเมมตาปราณีจอมปลอมถึงต้องสู้ตายแม้แหล่งกำเนิดความเมตตาปราณีจอมแปลอมถูกคุมคามเพียงน้อยนิด เขาอยากให้เราสำนึกในบุญคุณของเขา มากกว่าสำนึกว่ามันเป็นสิทธิอันชอบธรรมของพวกเราเอง" 

-
รัฐธรรมนูญปี 2550 ยังกำหนดว่า "ผู้ยากไร้ ผู้พิการ ผู้ทุพลภาพ และผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับการเรียนฟรี 12 ปีและต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาทัดเทียมกับบุคคลอื่น" ตรงนี้ไม่เข้าใจว่าร่างใหม่ตัดออกไปทำไม ตัดแล้วมันปราบโกงได้ดีขึ้นหรือ 

-
"ตอนนี้ผมทำงานกับเด็กที่อ่านหนังสือไม่ออก ผู้ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เด็กจะมองซ้ายกับขวาสลับกัน แทนที่เราจะดูว่าเราจะแก้ปัญหาอย่างไร ในแต่ละประเทศจะมีคนกลุ่มนี้ประมาณ 10% แต่กระทรวงศึกษาธิการ เตรียมการทำในปีการศึกษาที่จะถึงคือ สอบตก ซ้ำชั้น"

-
ย้อนกลับมาดูในรัฐธรรมนูญ ประเด็นเล็กประเด็นน้อยหายไปหมด ผมอยากถามภาคประชาสังคมช่วยภาครัฐปชส.รัฐธรรมนูญอย่างขมีขมัน อยากถามว่าสิ่งเหล่านี้ยังมีความสำคัญกับคุณอยู่หรอืไม่ 

-
นอกจากนี้รัฐธรรมนูญ 2550 มีการระบุว่า ประชาชนเข้าชื่อ 20,000 คนถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งได้ ไม่เฉพาะนักการเมือง แต่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ประธานศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองสูงสุด อัยการสูงสุด ตุลาการ กกต. กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ฯลฯ ร่างฉบับมีชัยตัดออก กลัวประชาชนจะมีส่วนร่วมในการปราบโกง ให้เป็นหน้าที่ของ ปปช. และศาลรัฐธรรมนูญอย่างเดียว 

-
ประเด็นสุดท้ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. เดิมทีสิทธิของประชาชนในการเข้าไปกำกับ อปท. มีอยู่ด้วยกันหลายข้อ หนึ่ง เราได้เลือกสมาชิกสภาฯ เราได้เลือกผู้บริหาร สาม เรามีสิทธิถอดถอน สี่ เรามีสิทธิร้องขอให้มีการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น มีสิทธิร้องขอให้จัดรับทำความคิดเห็นประชาชน และประชามติเพื่อตัดสินใจในสิ่งที่กระทบชุมชน หายหมด เหลือแค่ ถอดถอนสมาชิกกับผู้บริหาร อปท. 

-
"เราไม่ได้มีโอกาสมีส่วนร่วมกับ อปท.อย่างที่เราเคยมี และเราถอดถอนได้แค่นายก อบต.ของเรา แต่ไม่รวมถึง ประธานศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ อันนั้นเราได้แต่กระพริบตา"
-

"อำนาจของอปท.ก็หายไปด้วย เช่น การเข้าไปมีส่วนร่วมบำรุงรักษาธรรมชาตินอกเขตพื้นที่ซึ่งมีผลกระทบกับระชาชนในพื้นที่ พูดง่ายๆ ถ้าอบต.บ้านคุณบารมีทำเหมืองทอง แต่ผมอยู่ปลายน้ำ อบต.ผมมีอำนาจเข้าไปดูแล แม้ว่าเหมืองอยู่ในเขตอบต.คุณบารมี ตรงนี้หายไหมด"
-

นอกจากนี้ยังตัดของเดิมแล้วเขียนใหม่ว่า "ผู้บริหารท้องถิ่นได้มาจากการเลือกตั้งหรือวิธีอื่น" แปลว่าต่อไปจะมี อปท.แบบพิเศษที่ไม่จำเป็นต้องมีผู้บริหารที่มาจาการเลือกตั้งและไม่จำเป็นต้องมีสภาท้องถิ่น สามารถแต่งตั้งมาโดยตรง

-
"ถามว่าดีไซน์ไว้สำหรับอะไร ผมเดาว่า เพราะผู้ร่างรัฐธรรมนูญนี้ก็เป็นผู้ร่าง พ.ร.บ.ปี 2548 คือ เขตเศรษฐกิจพิเศษ นี่ใช่ไหมที่ภาคประชาสังคมห่วงเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ แต่สุดท้ายพอร่างออกมา ผมอยากถามองค์กรพัฒนาเอกชนบางแห่งที่ร่วมกับรัฐประชาสัมพันธ์รัฐธรรมนูญว่า ได้อ่านรัฐธรรมนูญไหม ได้เข้าใจไหมว่าสิทธิเสรีภาพประชาชนหายไป หรือท่านอย่ากมีส่วนร่วมในการแจกจ่ายความเมตตาปราณีของภาครัฐ ผมอยากเรียกร้องให้ท่านกลับมา เราเคยต่อสู้ร่วมกนในการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตั้งแต่สมัยสมัชชาคนจน....เรายังจำวันนั้นได้ไหม เรายังจะยืนเคียงข้างเพื่อต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนไหม หรือวันนี้บางท่านพร้อมแล้วที่จะเป็นนายหน้าสำหรับความเมตตาปราณีอย่างจอมปลอม"
-
Cr.Prachatai



No comments:

Post a Comment