ความจริง คือ แสงสว่างสู่ทางออกของปัญหา

Sunday, June 5, 2016

กู้เพื่อสร้างทางรถไฟสายใต้สมัย ร.5!!!

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์
30 พฤษภาคม เวลา 16:59 น. · 
กู้เพื่อสร้างทางรถไฟสายใต้สมัย ร.5!!!
การสร้างรถไฟตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เรื่อยมาในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ใช้การกู้เงินจากประเทศมหาอำนาจอังกฤษหลายครั้งหลายก้อน ครั้งละเป็นล้านปอนด์ขึ้น
แต่ครั้งที่กู้เงินอังกฤษมากที่สุด คือ 4,630,000 ปอนด์นั้น เพื่อสร้างทางรถไฟสายใต้ เพื่อกลไกทางการเมืองของอำนาจรัฐส่วนกลางกรุงเทพฯ
การที่รัฐบาลรัชกาลที่ 5 ได้กู้เงินก้อนใหญ่ก้อนนี้ มาจากการทำสนธิสัญญากับอังกฤษ 10 มีนาคม 1909/2451(/2) ที่ยินดีตกลงให้เขตแดนสี่รัฐมลายู ไทรบุรี กลันตรัง ตรังกานู ปะลิส เป็นดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ (มาเลเซียวันนี้) สยามไทยไม่เกี่ยวด้วยอีกต่อไป
เงินกู้ก้อนนี้ ใช้หนี้คืนให้อังกฤษหมดในปี 2492 หรืออีก 41 ปีต่อมาหลังการกู้เงิน
ที่มา: ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์. รัฐสภาไทย. 2517. หน้า 853.
สนธิสัญญาสยามกับอังกฤษ 10 มีนาคม 1909.
Believe it or not?
บันทึกไว้ Mon.จ. 30 Mayพฤษภา 2016/2559 ชั่วโมงที่ 7 ของวันที่ lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll l/61 220714 Cllll lllll70/Rubber Stamp C lllll lllll lllll lll…
เงื่อนไขของเงินกู้ประการหนึ่งคือทางรถไฟสายใต้ที่จะสร้างต้องมีขนาดทาง 1 เมตร (meter gauge) เท่ากับทางรถไฟในมลายาของอังกฤษ. ขนาดทางนี้ต่างจากทางรถไฟหลวงที่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (สายเหนือ สายอีสาน สายตะวันออก) ซึ่งเป็นทางขนาด 1.435 เมตร (standard gauge) ที่สร้างมาก่อน. ในภายหลังเมื่อมีการสร้างสะพานพระราม ๖ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมทางรถไฟหลวงสายใต้กับสายอื่นๆ จึงได้มีการเปลี่ยนขนาดทางรถไฟให้เป็น 1 เมตรเหมือนกันทั่วประเทศ.

ขออธิบายให้กระจ่างเพราะ ที่เขียนมานี่ออกจะรวบรัดไปหน่อย ผิดไปจากข้อเท็จจริงที่กระผมทราบ ในตอนแรก (ราวๆ ปี 2451) ตอนที่เราจะเสีย 4 รัฐมลายูนั้น เราก็เสนอข้อแลกเปลี่ยน คือ เงินกู้ 4 ล้านปอนด์สเตอริง สมัยที่ยังเป็นเหรียญปอนด์ทองคำหนักเหรียญละเกือบ 8 กรัม ที่ตอนนั้นแลกได้ 13 บาท โดยมีเงื่อนไขว่า 1. ห้ามกู้เกินปี ละ 750000 ปอนด์ 2. ต้องให้คนอังกฤษ เป็นเจ้ากรมคุมการก่อสร้าง ทางรถไฟสายใต้ 3. ต้องพร้อมให้เจ้าหน้าที่ จาก FMSR (กรมรถไฟมลายู) ตรวจพินิจได้ทุกเวลา ซึ่งงานนี้ ต้องขนรางและอุปกรณ์ไป เริ่มสร้างที่ กันตัง สงขลา และ ท่าข้าม แต่ต่อมาในปี 2457 พบว่าเงิน 4 ล้านปอนด์นั้นพอแค่การสร้างทางไปปาดังเบซาร์แต่ไม่พอสร้างทางไปสุไหงโกลก ทำให้ต้องกู้เพิ่มอีก 750000 ปอนด์ พอสร้างทางเชื่อมทางรถไฟหลวงได้สำเร็จที่ชุมพรเมื่อปี 2459 ถึงปาดังเบซาร์ปี 2461 และ ถึงสุไหงโกลก ปี 2464 พบว่ายังเหลืออีก 120000 ปอนด์ก็เลยคืนเงิน 120000 ปอนด์กลับไป

No comments:

Post a Comment