http://www.matichon.co.th/news/6289
สุโขทัยเป็นรัฐขนาดเล็กรัฐหนึ่ง มีดินแดนทางทิศใต้แค่เมืองพระบาง (นครสวรรค์) เท่านั้น ดินแดนใต้ลงไปอีกเป็นของรัฐอยุธยาและรัฐสุพรรณภูมิ บริเวณคาบสมุทรเป็นของรัฐมลายูปัตตานี
ฉะนั้นสุโขทัยจึงไม่ใช่ราชธานีแห่งแรกของไทย เพราะก่อนหน้านั้นมีรัฐหลายแห่ง และร่วมสมัยสุโขทัยก็มีรัฐอื่นๆ อีกหลายแห่ง
ที่สำคัญคือรัฐอโยธยา-ละโว้ ที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง สนับสนุนผลักดันให้เกิดรัฐสุโขทัย เพื่อกว้านทรัพยากรภายในส่งให้อโยธยา-ละโว้ค้ากับนานาชาติยุคนั้น
สื่อสารด้วยภาษาไทย เมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นราชอาณาจักรสยามแห่งแรก ย่อมมีไพร่ฟ้าประชาราษฎรเป็นประชาชาติหลายชาติพันธุ์และหลายชาติภาษาตั้งหลักแหล่งอยู่ด้วยกัน แล้วสื่อสารด้วยภาษากลาง คือ ภาษาไทย
ภาษาเขมรเป็นราชาศัพท์ ส่วนราชสำนักกรุงศรีอยุธยายุคแรกเริ่มใช้ภาษาเขมร เพราะเป็นภาษาชั้นสูงสืบต่อมาจากทวารวดีและละโว้ที่ลพบุรี แล้วได้รับยกย่องเป็นราชาศัพท์สืบจนทุกวันนี้
คนไทย เมื่อภาษาไทยเป็นภาษากลาง อย่างน้อยทางการค้าภายใน ภาษาไทยจึงเป็นพลังสำคัญผลักดันทีละน้อยให้มีสำนึกตัวตนความเป็นคนไทยตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยา
อักษรไทย ด้วยเหตุที่สื่อสารด้วยภาษาไทย แล้วเรียกตัวเองว่าคนไทย มีคนชั้นปกครองพูดภาษาไทย ฯลฯ จำเป็นต้องมีอักษรของตัวเอง
ส่งผลให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตในราชสำนักลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง (ก่อนยุคกรุงศรีอยุธยา) ยกย่องอักษรเขมร (ที่รู้จักทั่วไปว่าอักษรขอม) เป็นต้นแบบ จึงดัดแปลงเป็นอักษรไทยเขียนลงบนสมุดข่อย อันเป็นเทคโนโลยีก้าวหน้าในยุคนั้น
ขณะเดียวกันก็ยังยกย่องอักษรเขมรเป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์สืบต่อมา ใช้เขียนข้อความและเรื่องศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา เช่น ลงอักขระ และวรรณคดีชั้นสูงของราชสำนัก ฯลฯ แต่เรียกอักษรขอม
อธิบายภาพประกอบ อนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหง จ. สุโขทัย
No comments:
Post a Comment