ความจริง คือ แสงสว่างสู่ทางออกของปัญหา

Tuesday, February 7, 2012

เขี่ยขี้เท่อ ของคอลัมนิสต์ปัญญาอ่อนแห่ง เมเนอจอร์ "นายหิ่งห้อย" ต่อข้อวิพากษ์ข้อเสนอนิติราษฎร์ เรื่องศาลยุติธรรม


ในบรรดาสื่อที่ทรงอิทธิพลของสลิ่ม เมเนเจอร์ออนไลน์ คือสื่อที่มีคนเข้าไปอ่านจำนวนมาก และภาพสะท้อนของสลิ่ม ที่เราได้รับทราบมา  มันปรากฎอยู่ในงานเขียนของคอลัมนิสต์ค่ายนี้จำนวนมาก

ผมเห็นเขาวิจารณ์ข้อเสนอของนิติราษฎร์เรื่องการปฎิรูปศาลยุติธรรม ก็เลยสนใจเข้าไปอ่าน เพราะคิดว่า จะเจอการถกเถียงด้วยเหตุผลเสียที  อ่านแล้ว ต้องถอนใจยาวครับ คนที่เป็นนักเขียน เขามีระดับวุฒิภาวะทางความคิดและตรรกะต่ำขนาดนี้เลยหรือ?  ผมอ่านงานเขียนของเด็ก high schools  และ undergraduate หรือปริญญาตรีของที่อเมริกา ทราบเลยว่า ระดับความคิดของเด็กอเมริกันชนจำนวนมาก ดีกว่าของนายหิ่งห้อย  ของเมเนเจอร์ ที่ผมกำลังจะแคะออกมาให้พี่น้องได้อ่าน

นี่ยังถือว่าวิจารณ์แบบเบาะ ๆ เบา ๆ นะครับ หากมาเรียนระดับปริญญาโทหรือเอกกับผม คงต้องจับมานั่งสอนหลักการคิดเบื้องต้นและการคิดแบบ critical thinking ให้ใหม่หมดเลยทีเดียว

ลองอ่านบทวิพากษ์ ข้อ "วิพากษ์" ของนายหิ่งห้อย ข้างล่างนะครับ ของผมเป็นตัวอักษรสีแดงครับ

วิพากษ์ข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ “กรณีปฏิรูปศาลยุติธรรม”
7 กุมภาพันธ์ 2555 18:58 น.
       โดย นายหิ่งห้อย
       
        ไม่ว่าสังคมจะเรียกกลุ่มนิติราษฎร์ว่า “กลุ่มนักวิชาการ” หรือ “กลุ่มการเมือง” ที่ออกมาเคลื่อนไหวโดยมีเป้าหมายทางการเมืองหรือไม่ก็ตาม แต่ต้องยอมรับว่าคนกลุ่มนี้ซึ่งมี ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์สอนกฎหมายจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นแกนนำ มีความกล้าหาญที่จะออกมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่ค่อนข้างอ่อนไหวในสังคมไทย
  • ความกล้าหาญที่จะแสดงหลักการที่เป็นวิชาการ ในขณะสังคมยังถูกอาคมของสังคมโบราณ (คล้ายยุคมืด) ครอบคลุม ถือเป็นความกล้าที่น่ายกย่องอย่างแท้จริง
       
        เพียงแต่การแสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่มิได้คำนึงถึงขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและรากเหง้าหรือความเป็นมาของสังคมไทย เพราะข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ล้วนเป็นการลอกเลียนแบบต่างประเทศ ซึ่งยังไม่เหมาะสมกับสังคมไทยแทบทั้งสิ้น
  • ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและรากเหง้าความเป็นไทย มีทั้งดีและเสีย เราทิ้งสิ่งเก่า ๆ ไว้เบื้องหลังมากมาย เพราะมันไม่เหมาะกับยุคสมัย แล้วเราก็รับเอาสิ่งใหม่มามากมาย  ทำไมเราไม่หมอบคลาน ถอดเสื้อ กินหมาก ประหารชีวิตด้วยตัดคอ ฯลฯ  ดังนั้นข้ออ้างที่คุณเอามาโจมตีว่านิติราษฎร์ทำผิด เพียงเพราะฝืนวิถีเก่า จึงอ่อนและผิดตั้งแต่ต้นแล้ว   ยิ่งหากอ้างว่า "เป็นการลอกแบบต่างประเทศ  ซึ่งยังไม่เหมาะสมกับสังคมไทยแทบทั้งสิ้น" นั้น ยิ่งน่าขันยิ่ง  ทำไมเราขับรถยนต์แทนเกวียน เมื่อรถยนต์เป็นของต่างชาติ  ทำไมเราใช้คอมพิวเตอร์ในเมื่อชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ไม่ใช่จะรู้ภาษาอังกฤษหรือจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน ฯลฯ นี่หากไม่โง่เข้าขั้นสุด ๆ จะไม่มีทางคิดได้ตื้น ๆ แบบนี้นะครับ  ที่น่าสมเพชใจก็คือ พวกนี้มักไม่ชอบตั้งคำถามแย้งตรรกะของตัวเอง แล้วก็มักหลงคิดว่าตัวเองน่ะ เก่งนักเก่งหนา ดีกว่าคนอื่น ฉลาดกว่าคนอื่น  และโดยปกติแล้ว พวกเขาผิดเสียตั้งแต่หน้าประตูที่ชื่อหลักตรรกะ แล้วเสมอ
        โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อเสนอเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันสูงสุด ซึ่งมีความเป็นมาผูกพันกับคนไทยเป็นเวลายาวนาน และคนไทยยังเคารพเทิดทูนไว้เหนือชีวิต จึงทำให้กลุ่มนิติราษฎร์ถูกต่อต้านจากกลุ่มต่างๆ ในสังคมไทยอย่างรุนแรง
  • เอาล่ะ ตอนนี้เริ่มเข้าประเด็นแล้วนะครับ สรุปว่า การเปลี่ยนกฎหมายที่เกี่ยวกับกษัตริย์ ไม่ควรทำ เพราะสถาบันนี้มีมานานแล้ว และคนไทยยังเคารพเทิดทูนไว้เหนือชีวิต  เรื่องการอยู่นานแล้วต้องรักษาไว้ เปลี่ยนไม่ได้เนี่ย  หากย้อนไปนับการใช้ควายไถนาซึ่งเป็นมานานมากในวิถีชีวิตแบบไทย ๆ เราก็ไม่ควรไปเปลี่ยนเป็นรถไถนาที่ใช้เครื่องยนต์   หรือหากย้อนไปถึงการกินข้าวด้วยนิ้วมือสมัยก่อนโน้น ทำกันมานาน ก็ไม่น่าจะเปลี่ยน เพราะทำกันมาเป็นธรรมเนียม   ซึ่งตรรกะนี้มันผิดนะครับ เวลาอันยาวนาน ไม่ได้พิสูจน์ค่าว่าสิ่งนั้นดีหรือดีที่สุดเสมอไป และเมื่อมีสิ่งดีกว่า เราก็เปลี่ยนแปลงมาตลอด

    ทีนี้มาถึงประเด็นการอ้างว่า "
    คนไทยยังเคารพ [สถาบัน] เทิดทูนไว้เหนือชีวิต" จึงได้รับการต่อต้านในสังคมไทย "อย่างรุนแรง"  เราจะเห็นได้ว่า อาการขี้ตู่ สรุปเข้าข้างตัวเอง หรืออ้างในสิ่งที่ไม่ได้รับการนับหรือพิสูจน์ เป็นเรื่องความมักง่ายของพวกขี้ตู่ที่เห็นกันบ่อย  คนไทยเคารพสถาบัน อาจจะมีบ้าง แต่ส่วนใหญหรือ? ทุกคนหรือ?  ผมไม่เชื่อครับ  และยิ่งบอกว่า มีการ  "เทิดทูนไว้เหนือชีวิต" ผมยิ่งไม่เชื่อ  เอาสิครับ ลองเอาปืนจ่อหัวคนที่พวกเขาอ้างว่าเทิดไว้เหนือชีวิต แล้วบอกว่า จะไว้ชีวิตคน ๆ นั้น หากพวกเขากล้าเอาชีวิตมาแลก  ฮิ ๆ ขี้คร้านจะหัวหด  จะมีซักกี่คนในประเทศไทย ผมอยากรู้ครับ จะมีถึงห้าคนไหม?

    นี่เป็นตัวอย่างของวาทกรรมไร้หลักฐานและคุยเขื่องแบบไร้สติ   ซึ่งผมเชื่อว่าในกลวง  ดังนั้น หากเราเข้าใจตรงนี้เสียแล้ว เราจะไม่ให้ราคากับถ้อยคำและแม้แต่คำขู่ของพวกฝุ่นใต้ตีนไร้สมองและเหตุผลเหล่านี้ครับ
       
        นอกจากนี้ ข้อเสนอการปฏิรูปศาลยุติธรรมที่กลุ่มนิติราษฎร์เห็นว่า สถาบันตุลาการมิได้ยึดโยงกับประชาชน เพราะมิได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยก็เช่นกัน
       
        ที่กลุ่มนิติราษฎร์ได้เสนอแนวคิดให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอชื่อผู้บริหารสูงสุดของทุกชั้นศาลต่อสภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐสภาเพื่อให้การรับรองก่อนที่จะมีการแต่งตั้งเข้าสู่ตำแหน่งนั้น
       
        ก็เป็นการลอกเลียนแบบระบบศาลที่ใช้ในบางประเทศซึ่งมีวิวัฒนาการของระบบการเมือง การปกครอง สภาพสังคม และความเป็นมาของผู้ใช้อำนาจตุลาการที่แตกต่างจากประเทศไทยเช่นกัน
  • สามย่อหน้านี้ แสดงให้เห็นถึงความไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่มีน้ำหนักในการถกเถียงประเด็นที่สำคัญและอยู่บนหลักการสูงสุดของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งทั่วโลกเขารับรู้กันว่า อำนาจต้องเป็นของประชาชนหรือผูกโยงกับประชาชน (ของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน)  พวกนี้ไม่ได้บอกว่า ใช้กับสังคมไทยแล้วไม่ดีอย่างไร ไม่เหมาะกับสังคมไทยอย่างไร  ประชาธิปไตยเมืองไทยมันใช้หลักสากลไม่ได้เพราะอะไร   หากเป็นข้อสอบอัตนัย มาถึงตรงนี้ ผมให้คะแนนไม่เกิน 10% ค่าน้ำหมึก  แปลว่า สอบตก ในระดับปริญญาตรีครับ  แล้วคนอย่างนี้ ก็สะเออะมาเขียนคอลัมน์ ให้คนอ่านทั่วบ้านทั่วเมืองนะครับ น่าตกใจไหมครับ
       
        เชื่อว่า แม้แต่ชาวบ้านธรรมดาๆ ที่ไม่ต้องข้ามน้ำข้ามทะเลไปร่ำเรียนวิชากฎหมายจากต่างประเทศก็ย่อมทราบดีว่า หากนำข้อเสนอดังกล่าวของกลุ่มนิติราษฎร์มาใช้กับสังคมไทย ศาลยุติธรรมไทยย่อมไม่มีความเป็นอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดี
  • นี่โยงเรื่องอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีเข้ามาปนเพื่อหักล้าง กับเรื่องหลักการผูกโยงกับประชาชน  โดยอ้างอีกแล้วนะครับ ว่าชาวบ้านก็เห็นตามเขา ว่ามันจะทำให้ศาลไม่มี "อิสระ" ซึ่งเป็นเรื่องซึ่งต้องพิสูจน์กันมากมาย  ที่เขาไม่ได้พูดถึงและพยายามให้เราเชื่อตามก็คือ ในระบอบและระบบปัจจุบัน ที่ศาลเหี้ย ๆ ไม่ได้มาจากประชาชน และที่ถูกบงการได้โดยง่าย โดยคนที่กุมอำนาจในระบอบราชาธิปไตย และเป็นผลมาจากการรัฐประหารนั้น  มี  "อิสระ"  ซึ่งไม่เป็นความจริงที่ทุกคนจะเห็นด้วยอย่างไม่มีข้อสงสัยเลย   
        และผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมก็คงจะไม่ต่างไปจากข้าราชการประจำในกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ที่จะต้องคอยเงี่ยหูฟังคำสั่งจากฝ่ายการเมือง ก่อนที่จะมีคำพิพากษาในคดีที่มีความเกี่ยวข้องกับนักการเมือง หรือคดีอื่น ๆ ที่นักการเมืองต้องการแทรกแซงคดีความในศาล
  • ผมไม่อยากจะบอกเลยว่า ความคิดของคอลัมนิสต์คนนี้ สู้เด็กมัธยมต้นของประเทศอเมริกายังไม่ได้เลยนะครับ ตรงนี้ เอาการการให้สภาตรวจสอบ ซึ่งแปลว่า ตัวแทนประชาชนเขารับรองก่อนนั้น ไปเปรียบข้าราชการที่อยู่ใต้อำนาจของรัฐบาล มันเป็นคนละเรื่องโดยสิ้นเชิง  การตรวจสอบเป็นเรื่องที่ต้องทำกันอยู่แล้ว ฝ่ายยุติธรรมเวลานี้ มีอำนาจขนาดยุบพรรคการเมือง ปลดนักการเมือง ฯลฯ  นี่มันไม่ยิ่งกว่าการเหยียบย่ำหัวของตัวแทนประชาชนหรือ?  ไม่ต้องพูดแค่เรื่องอิสระในการทำงานแค่นั้น   แต่ในความเป็นจริง อิสระในการทำงาน เป็นคนละเรื่องกับการตรวจสอบก่อนเข้าทำงานนะครับ สภาฯ สามารถสอบถามประวัติ คัดกรองคนที่จะมาทำหน้าที่อันสังคมไทยยอมรับและอยากยกให้ว่า มีความบริสุทธิ์  ก็พวกนี้กินเงินเดือนสูงกว่าใคร ทำไมจะถูกตรวจสอบไม่ได้  ที่ผ่านมา ก็ได้รับการตรวจสอบกันเฉพาะกลุ่ม แล้วเป็นไง?  ตัดสินคดีความเป็นอย่างไร ตามคำสั่งใคร เราก็พอจะรู้กันอยู่ อยากได้หลักฐานความไม่ชอบมาพากล ลองไปถามคนจบปอสี่ในบรรดาคนเสื้อแดงดู ก็จะได้คำตอบแบบไม่ต้องบกเมฆมาลอย ๆ อย่างเจ้าของคอลัมน์อ้าง  อิสระในการทำงาน เป็นคนละส่วนกับการตรวจสอบนะครับ การตรวจสอบคือการช่วยกรองคนเข้าไปทำงาน ส่วนระบบการทำงาน เป็นอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งมีกฎระเบียบบังคับเอาไว้  ไม่ได้แปลว่าการขอให้มีการตรวจสอบนั้น จะต้องแปลว่าผู้ทำหน้าที่จะต้องรับฟังนักการเมือง  ก็ตรวจสอบท่านผ่านแล้ว ท่านก็สามารถทำงานได้อย่างสง่าผ่าเผย ไม่ได้แปลว่านักการเมืองจะเข้าไปแทรกแซงหรือมีอิทธิพลเหนือการทำงานได้  เพราะเขาอนุมัติให้ผ่าน  และการอนุมัติให้ผ่าน เป็นการทำงานแบบองค์คณะ แบบโปร่งใส มีการถ่ายทอด เหมือนในสหรัฐอเมริกา  เราจะเห็นได้ว่า พวกนี้กลัวอิทธิพลของตัวแทนประชาชน (นักการเมือง)  แล้วอ้างเอาประเด็นการตรวจสอบโดยตัวแทนไปโยงกับการใช้อิทธิพลเหนือการทำงานของศาล ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดรายละเอียด และที่จริงแล้ว ไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงกัน  เพราะมันไม่ใช่บุญคุณ ไม่ใช่การเลือกคนของพรรคเข้าไปทำหน้าที่คุมเกมด้านยุติธรรมแบบไม่มีการคานอำนาจ  เพราะในสภานั้น มีทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน  การซักค้าน ตรวจสอบ ก็ทำกันทั้งสองฝ่าย   การที่คอล้มนิสต์ท่านนี้ จับแพะชนแกะ โดยไม่มองรายละเอียดของความจริง แสดงให้เห็นถึงความตื้นเขินทางความคิดและวิจารญาณ  นี่เป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับสังคมครับ 
       
        จึงเห็นได้ว่า ข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ในประเด็นดังกล่าวมิได้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน แต่จะเป็นประโยชน์แก่นักการเมืองที่ต้องการแทรกแซงอำนาจตุลาการมากกว่า
  • นี่คือปัญหาทางตรรกะและการคิดที่น่าอายมาก ๆ นะครับ สรุปว่าจะไม่เกิดประโยชน์กับประชาชน   เป็นการสรุปชนิดที่ไม่มีหลักฐาน ไม่มีการวิเคราะห์ใด ๆ เลย ว่า ประโยชน์อันพึงได้จากการให้ตัวแทนประชาชนตรวจสอบก่อนการเข้ารับตำแหน่งในศาลยุติธรรมมีอะไรบ้าง (ไม่เคยคิด และไม่เคยกล่าวถึงหรือหักล้าง  counter arguments หรือความเห็นที่อีกฝ่ายน่าจะแย้งมา  แล้วก็ด่วนสรุปไปเลยว่าไม่มีอะไร)  ซึ่งหากจะยกมา ก็เห็นได้ว่า เป็นการช่วยคัดคนที่มีคุณวุฒิ และประวัติการทำงานที่เชื่อได้ว่าเหมาะสมกับ job descriptions หรือลักษณะของงานที่จะทำ  ทำให้ได้คนดีที่สุด ไม่ด่างพร้อย ไม่อยู่ใต้อิทธิพลรัฐบาล (เพราะฝ่ายค้านมีสิทธิซักถามและลงคะแนนเสียงได้  และปกติการซักถามตรวจสอบ ในประเทศพัฒนาแล้ว เขาให้มีการถ่ายทอดสดครับ)    พี่น้องเห็นยัง ถึงความตื้นเขินทางความคิดและความฉลาดในเชิงเหตุผลที่จำกัดของคอลัมนิสต์ท่านนี้
       
        บ้านเมืองไทยทุกวันนี้ อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติแทบจะไม่สามารถตรวจสอบถ่วงดุลผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหารได้เลย เพราะนักการเมืองผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหารเป็นผู้คุมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร

        หากต้องให้อำนาจตุลาการอยู่ภายใต้อำนาจฝ่ายบริหารอีก แทนที่การเคลื่อนไหวผลักดันของกลุ่มนิติราษฎร์จะได้ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ แต่กลับจะได้ระบอบเผด็จการสมบูรณ์แบบโดยนักการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร
  • นี่เขาโง่หรือบ้ากันแน่ครับ หรือคงไม่เข้าใจระบอบประชาธิปไตย และหลักเสียงข้างมากในสภา และหลักการตรวจสอบ และวิธีการต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนดเรื่องการคานอำนาจ เช่น สิทธิและหน้าที่ของสภา การมีวุฒิสภาเข้ามาช่วยกลั่นกรอง (แถมแต่งตั้งมาอีกจำนวนมหาศาล)   มันมีรัฐบาลไหนที่ไม่ได้เสียงข้างมากในสภา???????? และการตรวจสอบทำไมจะทำไม่ได้  ประชาธิปัติย์มันค้านได้ทุกเรื่อง ออกสื่อได้มากกว่ารัฐบาลเสียอีก เพื่อฟ้องประชาชน และประชาชนก็คือผู้ตัดสิน  แถมยังมีเครือข่ายตุลาการวิบัติไว้คอยรับลูก  มันยุบพรรคการเมืองมากี่พรรค ไล่นายกออกกี่คนในสี่ห้าปีหลังนี้ ทั้ง ๆ ที่พรรคเหี้ย ๆ นี้ ไม่เคยได้เสียงส่วนใหญ่ด้วยตัวเองเลย  นี่คือการโกหกหน้าด้าน ๆ มองสถานการณ์อย่างตื้นเขิน และมีอคติ แถมอยู่บนพื้นฐานของไม้หลักปักขี้เหลืองครับ  ลงท้ายมาสรุปเลยว่า การเคลื่อนไหวของนิติราษฎร์ทำให้เกิดระบอบเผด็จการทางรัฐสภา... ฮา...

     แล้วผมควรอ่านต่อหรือวิพากษ์ วิจารณ์ต่อไหมละเนี่ย? หากเป็นการตรวจข้อสอบอัตนัย  ผมให้ F- ไปแล้วนะครับ   ผมอ่านที่เหลือแล้ว ก็ต้องนั่งส่ายหัวกับความหน่อมแน้มของคอลัมนิสต์ท่านี้เสียจริง ๆ

    ว่าง ๆ ผมจะมานั่งวิเคราะห์และวิจารณ์ความคิดขี้เท่อ ๆ ของนักเขียนท่านนี้อีกนะครับ หรือพี่น้องจะลองยกไปเขียนวิพากษ์ วิจารณ์เล่น ๆ ที่ comment box ข้างล่าง ทีละประโยค ก็เชิญนะครับ น่าสนุกดีครับ ถือเป็นการเขี่ยขี้เท่อให้สลิ่มได้เห็น เพราะหลายคนยังคิดว่าเป็น  oyster หรือหอยชั้นดี อยู่เลยครับ ฮิ ๆ 
       
        ผมเห็นว่า แม้ในปัจจุบันผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมมิได้มีความยึดโยงกับภาคประชาชนโดยตรง แต่ก็มีกรรมการตุลาการ 2 คน ซึ่งมาจากการสรรหาของวุฒิสภาร่วมกับกรรมการตุลาการที่มาจากการเลือกตั้งจากผู้พิพากษาทำหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา
       
        โดยคณะกรรมการตุลาการมีอำนาจในการเสนอแต่งตั้งโยกย้ายและลงโทษทางวินัยแก่ผู้พิพากษาทุกตำแหน่งอยู่แล้ว
       
        การเปลี่ยนแปลงในสถาบันตุลาการมิใช่เป็นสิ่งต้องห้าม และก็มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นระยะๆ เพื่อให้สถาบันตุลาการมีความมั่นคง เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง
       
        ผมไม่เห็นด้วยกับนักวิชาการบางกลุ่มที่ไปเรียนรู้ระบบตุลาการในต่างประเทศเพียงไม่กี่ปี แล้วจินตนาการเอาว่าระบบตุลาการในประเทศนั้น ๆ เป็นระบบที่ดี แล้วเสนอแนะให้นำมาใช้กับสังคมไทย โดยไม่ศึกษาความเป็นมาของขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของแต่ละสังคมให้ลึกซึ้งเสียก่อน
       
        อนี่ง เมื่อปี 2547 ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ แกนนำกลุ่มนิติราษฎร์ก็เคยแสดงความเห็นไว้ในหนังสือ “รู้ทันทักษิณ 2” วิพากษ์วิจารณ์รัฐธรรมนูญปี 2540 เกี่ยวกับการสรรหาองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญซึ่งมีใจความสำคัญสรุปได้ว่า
       
        “บุคคลที่ทำหน้าที่ในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมีที่มาจากการสรรหาของฝ่ายการเมือง จึงถูกฝ่ายการเมืองแทรกแซงและครอบงำ จนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นอิสระและเที่ยงธรรมได้ ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นในบ้านเมือง”
       
        จึงน่าสงสัยว่า เหตุใด ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คนเดียวกันนี้กลับเคลื่อนไหวให้มีการปฏิรูปศาลยุติธรรม โดยให้คณะรัฐมนตรีเสนอชื่อประธานศาลทุกชั้นศาลเพื่อให้รัฐสภารับรองก่อนแต่งตั้ง
       
        อันเป็นข้อเสนอใหม่ที่เปิดโอกาสให้นักการเมืองแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของศาลยุติธรรมได้โดยง่าย
       
        เชื่อว่า หากฝ่ายการเมืองพิจารณาแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญให้มีการปฏิรูปศาลยุติธรรมตามข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ จะมีผู้พิพากษาและประชาชนผู้รักความเป็นธรรมร่วมกันออกมาคัดค้านอย่างถึงที่สุดอย่างแน่นอน
       
        ผมมีข้อเสนอต่อกลุ่มนิติราษฎร์ให้ใช้ความรู้ทางวิชาการและความกล้าหาญในการแก้ปัญหาอันเป็นรากเหง้าของปัญหาทั้งปวงในสังคมไทย นั่นก็คือปัญหาการคอร์รัปชั่นในวงราชการและการเมืองไทย ซึ่งยังไม่เห็นการเคลื่อนไหวเพื่อแก้ปัญหาในส่วนนี้
       
        คงเห็นแต่เพียงการเคลื่อนไหวเพื่อให้มีการลบล้างคดีคอร์รัปชั่น ซึ่งศาลยุติธรรมได้พิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว โดยอ้างว่าศาลหยิบยกกฎหมายซึ่งออกในสมัยที่มีการปฏิวัติยึดอำนาจมาใช้ในการตัดสินคดี
       
        ทั้งๆ ที่ปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นต้นเหตุปัญหาความเหลื่อมล้ำของคนในสังคมไทย และเป็นต้นเหตุของการใช้เป็นข้ออ้างทุกครั้งที่มีการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองบ้านเมือง และข้ออ้างดังกล่าวก็เป็นความจริงที่คนในสังคมไทยรับรู้
       
        ผมเองก็ไม่ต้องการเห็นการปฏิวัติยึดอำนาจไม่ว่ากรณีใดๆ เพราะไม่เกิดผลดีแก่ประเทศชาติและประชาชน แต่ก็ไม่ต้องการเห็นระบอบเผด็จการในรูปแบบประชาธิปไตยจอมปลอม ที่หลายๆ ฝ่ายพยายามเรียกร้องเพื่อประโยชน์ของคนบางกลุ่มเช่นกัน
       
        กลุ่มนิติราษฎร์จึงควรล้มเลิกความคิดในการเคลื่อนไหวขอแก้กฎหมายเกี่ยวกับสถาบันสูงสุดและการปฏิรูปศาลเพื่อเพิ่มอำนาจให้แก่ฝ่ายการเมือง แล้วหันมาเคลื่อนไหวต่อต้านการคอร์รัปชั่นอย่างเอาการเอางาน
       
        หากสามารถทำได้ผล ก็เชื่อว่ากลุ่มนิติราษฎร์จะได้รับการสรรเสริญจากคนส่วนใหญ่ทุกกลุ่มในสังคมไทย มิใช่ถูกต่อต้านอย่างรุนแรงเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และจะสามารถแก้ปัญหาการปฏิวัติยึดอำนาจได้อย่างถาวรอีกด้วย
พิมพ์จาก http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000017380
เวลา 8 กุมภาพันธ์ 2555 02:37 น.

No comments:

Post a Comment